Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • พันธมิตรตะวันตกรุมค้านสหรัฐฯ ส่งคลัสเตอร์บอมบ์ให้ยูเครน

พันธมิตรตะวันตกรุมค้านสหรัฐฯ ส่งคลัสเตอร์บอมบ์ให้ยูเครน

 พันธมิตรตะวันตกรุมค้านสหรัฐฯ ส่งคลัสเตอร์บอมบ์ให้ยูเครน

ประเทศที่แสดงความคิดเห็นคัดค้านอย่างชัดเจนคือ แคนาดา ที่ได้ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้คลัสเตอร์บอมบ์ ซึ่งมีโอกาสที่ระเบิดจะไม่ทำงานเป็นเวลานานหลายสิบปี พร้อมย้ำว่าแคนาดายังยึดมั่นอย่างเต็มที่ในการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยเครื่องกระสุนลูกปรายและต้องการข้อตกลงถูกนำไปใช้ทั่วโลก เช่นเดียวกับ นายกรัฐมนตรี ริชี ซูนัค ผู้นำอังกฤษ ที่เน้นย้ำว่าอังกฤษ เป็นหนึ่งใน 123 ประเทศ ที่ลงนามในอนุสัญญาฉบับนี้ โดยซูนัคย้ำว่าไม่สนับสนุนการใช้อาวุธชนิดนี้

ครบรอบ 1 ปี ม็อบศรีลังกาบุกยึดบ้านประธานาธิบดี

จับตา! พรรคประชาธิปัตย์ประชุมใหญ่ เลือกหัวหน้าพรรคคนที่ 9

มาร์การิตา โรเบิลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสเปน ยืนยันว่า สเปนมีความมุ่งมั่นอย่างหนักแน่น ว่าอาวุธและระเบิดบางชนิดไม่ควรถูกส่งไปยูเครน รวมถึงคลัสเตอร์บอมบ์ แต่ยืนยันว่ายูเครนควรได้รับอาวุธที่สอดคล้องกับกฎหมาย ขณะเดียวกัน นาย สเตฟเฟน เฮเบสตรีท (Steffen Hebestreit) โฆษกรัฐบาลเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาเช่นกันกล่าวว่าแม้เยอรมนีจะไม่จัดหาอาวุธดังกล่าวให้แก่ยูเครน แต่ก็เข้าใจถึงจุดยืนของสหรัฐฯ และเชื่อมั่นว่าสหรัฐฯ ไม่ได้ตัดสินใจในเรื่องนี้ง่ายเกินไป

โอเล็กซี เรซนิคอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยูเครน แสดงความยินดีต่อการที่สหรัฐฯ ประกาศจัดส่งคลัสเตอร์บอมบ์ให้แก่ยูเครน โดยบอกว่าอาวุธชนิดนี้จะช่วยปลดปล่อยดินแดนของยูเครน แต่สัญญาว่าจะไม่ใช้กระสุนนี้โจมตีแผ่นดินดินแดนรัสเซีย

เรซนิคอฟ ระบุว่า กระสุนนี้จะช่วยปกป้องชีวิตทหารยูเครน พร้อมระบุยูเครนจะปฎิบัติตามข้อตกลงการใช้อย่างเข้มงวด และจะไม่ใช้ในเขตเมืองโดยจำกัดการใช้งานสำหรับการโจมตีแนวป้องกันของรัสเซียเท่านั้น

นอกจากคลัสเตอร์บอมบ์แล้ว ยูเครนยังต้องการให้สหรัฐฯ ส่งอาวุธพิสัยไกลเพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับรัสเซีย โดยประธานาธิบดี โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ระบุว่า หากไม่มีอาวุธประเภทดังกล่าว ปฏิบัติการทั้งรุกกลับและป้องกันการโจมตีจากรัสเซียจะเป็นไปอย่างยากลำบาก

ขณะที่เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐเปิดเผยว่า สหรัฐได้ทำลายอาวุธเคมีลอตสุดท้ายในสต็อกแล้ว ซึ่งเป็นการยุติความพยายามที่ดำเนินมาหลายทศวรรษเพื่อกำจัดอาวุธร้ายแรงดังกล่าวที่ถูกใช้อย่างมากเป็นครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่ 1 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตาม อนุสัญญาห้ามครอบครองอาวุธเคมี ซึ่งวุฒิสภาสหรัฐฯ ลงสัตยาบันในปี 1997 ซึ่ง สหรัฐและประเทศอื่น ๆ ที่ร่วมลงนามจะต้องทำลายคลังอาวุธเคมีภายในวันที่ 30 กันยายนในปีนี้ ด้านองค์การห้ามอาวุธเคมี (OPCW) ระบุว่า เหตุการณ์นี้นับเป็นความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์ของการลดจำนวนอาวุธในประชาคมระหว่างประเทศ พร้อมทั้งมีรายงานยืนยันว่า อาวุธเคมีเหล่านี้ได้ถูกทำลายอย่างถาวรแล้วในสหรัฐฯ โดยนับตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา สหรัฐฯ ได้จัดเก็บอาวุธทั้งจรวด กระสุนปืนใหญ่ และระเบิดที่บรรจุสารเคมีอย่างก๊าซมัสตาร์ด (Mustard Gas) ซึ่งจัดอยู่ในสารเคมีที่ทำให้เกิดผวหนังพุพอง รวมถึงสารซาริน (Sarin) และสาร VX ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติทำลายประสาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง